การสอบเพื่อหนังสืออนุมัติ/วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๙

ประกาศคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินเรื่อง การสอบเพื่อหนังสืออนุมัติ/วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินประจำปี๒๕๕๙

ตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ พ.ศ. ๒๕๕๒*กำหนดให้มีการสอบเพื่อหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรฯปีละหนึ่งครั้ง ภายในเดือนมิถุนายนคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินจึงมีมติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๙เมื่อวันที่ ๒๕มกราคม๒๕๕๙ให้กำหนดการสอบประเมินความรู้ ทักษะ และเจตคติ ด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินตามเนื้อหาหลักสูตรฯซึ่งกำหนดความรู้ความสามารถทางวิชาชีพและทักษะเวชกรรมเพื่อหนังสืออนุมัติ/วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินพ.ศ. ๒๕๕๑†เพื่อหนังสืออนุมัติ/วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินประจำปี๒๕๕๙ดังต่อไปนี้
๑.คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครขอรับการสอบคือต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕ ประกอบกับมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้:-กรณีเพื่อวุฒิบัตรฯ
๑.๑.เป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินแล้วครบถ้วนหรือกำลังฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินระดับปีสุดท้ายหรือปฏิบัติงานชดใช้ทุนและปฏิบัติงานต่อเนื่องในสถาบันการแพทย์และสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคของทางราชการที่มีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงานในสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินไม่น้อยกว่า๓๖เดือนตามหลักสูตรที่แพทยสภากำหนด และมีคุณสมบัติอื่นประกอบอย่างครบถ้วนดังต่อไปนี้:-
๑.๑.๑.สถาบันที่ให้การฝึกอบรมหรือปฏิบัติงานเห็นสมควรให้เข้าสอบได้
๑.๑.๒.มีบันทึกทักษะและประสบการณ์การทำหัตถการ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรข้อ ๑.๑๒ (๒) ง. อย่างน้อยในรอบ๑ ปีที่ผ่านมา นำเสนอคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ พิจารณาแล้วให้ผ่าน
๑.๑.๓.ผ่านการฝึกอบรมการกู้ชีพขั้นสูงอย่างน้อย ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านโรคหัวใจ (Advanced Cardiac Life Support),ด้านการบาดเจ็บ (Advanced Trauma Life Support),ด้านการได้รับพิษ (Advanced Hazmat Life Support),ด้านกุมารเวชกรรม (Advanced Pediatric Life Support), ด้านการดูแลนอกโรงพยาบาล (Advanced Prehospital Life Support)และ/หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าหลักสูตรดังกล่าว รวมทั้งมีประสบการณ์เป็นผู้ช่วยผู้ฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว จากสถาบันที่คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ พิจารณาแล้วให้การรับรอง
๑.๑.๔.มีผลงานวิชาการเป็นนิพนธ์ต้นฉบับ ซึ่งอาจเป็นการศึกษาวิจัยทางเวชกรรม,การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน, การศึกษาวิจัยทางวิทยาการระบาด, การศึกษาวิจัยเชิงระบบในการควบคุมภาวะฉุกเฉินหรือการบริหารจัดการระบบเวชบริการฉุกเฉิน, การศึกษาวิจัยทุติยภูมิ (เช่น การวิจัยทบทวนวารสารอย่างเป็นระบบ, การวิจัยและพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ) และ/หรืออนุกรมรายงานผู้ปุวยทางเวชกรรมฉุกเฉิน ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางการแพทย์ซึ่งมีการทบทวนอย่างเป็นระบบหรือเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ พิจารณาแล้วให้ผ่านอย่างน้อย ๑ เรื่อง*ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๕๒†เกณฑ์หลักสูตรการฝกอบรมแพทย์ประจำบานเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาเวชศาสตรฉุกเฉิน๒๕๕๑
กรณีเพื่อหนังสืออนุมัติฯ
๑.๒.เป็นผู้ได้ทำงานในสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีแพทย์รับผิดชอบภาระงานของแผนกฉุกเฉินเต็มเวลาจำนวนอย่างน้อย ๓คน และมีภาระงานบริการของสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินตามเกณฑ์สถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน รวมทั้งได้รับการรับรองจากคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินด้วย เป็นเวลาไม่น้อยกว่าที่กำหนดในข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้
๑.๒.๑.แพทย์ที่ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องมีการปฏิบัติงานในสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินเต็มเวลา (โดยอนุโลมตามเกณฑ์สถาบันฝึกอบรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ข้อ ๒.๒. ข.) ณ สถาบันที่มีเกณฑ์ลักษณะอย่างน้อยตามมาตรฐานที่แพทยสภากำหนด และคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินรับรองไม่น้อยกว่า ๕ ปี
๑.๒.๒.แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาหรืออนุสาขาทางด้านอายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, กุมารเวชศาสตร์, สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วิสัญญีวิทยา, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิก, จักษุวิทยา, โสตนาสิกและลาริงซ์วิทยา, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, จิตเวชศาสตร์, เวชปฏิบัติทั่วไป และ/หรือเวชศาสตร์ครอบครัว หรืออนุสาขาของสาขาดังกล่าวต้องมีการปฏิบัติงานในสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินเต็มเวลา (โดยอนุโลมตามเกณฑ์สถาบันฝึกอบรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ข้อ ๒.๒. ข.)ณ สถาบันที่มีเกณฑ์ลักษณะอย่างน้อยตามมาตรฐานที่แพทยสภากำหนด และคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินรับรองไม่น้อยกว่า ๒ ปีทั้งนี้ แพทย์ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ ๑.๒.๑หรือ ๑.๒.๒ต้องมีคุณสมบัติอื่นอย่างครบถ้วนตามข้อ ๑.๑.๒, ๑.๑.๓และ ๑.๑.๔ด้วย
๑.๓.เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินหรือเทียบเท่า จากสถาบันในต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง
๑.๔.เป็นผู้ได้ทำงานเกี่ยวกับเวชศาสตร์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องกันมาตลอดจนถึงวันที่ยื่นคำขอสอบไม่น้อยกว่า ๑๐ ปีประกอบกับมีคุณสมบัติเฉพาะซึ่งคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน กำหนดเพิ่มเติม อย่างครบถ้วนดังต่อไปนี้
๑.๔.๑.ได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาหรืออนุสาขาต่างๆ ตามข้อ ๑.๒.๒ และ๑.๔.๒.มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้๑.๔.๒.๑.เป็นอาจารย์ผู้ทำหน้าที่หัวหน้าสถาบันฝึกอบรมหรือประธานการฝึกอบรมของสถาบันที่ได้รับการอนุมัติให้เปิดเป็นสถาบันฝึกอบรมใหม่ซึ่งได้รับยกเว้นตามข้อ ๒.๒ (๑) ก. วรรคสอง แห่งเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทยประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรูความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินพ.ศ. ๒๕๕๑หรือ
๑.๔.๒.๒.ได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด,อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา, อนุสาขากุมาร- เวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ, อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ, อนุสาขาวิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่และทรวงอก, อนุสาขาวิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ปุวยโรคทางระบบประสาท, อนุสาขาเวชบำบัดวิกฤต, อนุสาขาเวชเภสัชวิทยาและพิษวิทยา, อนุสาขาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ, อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจหรืออนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
๒.ยื่นใบคำขอสมัครสอบฯ และเอกสารต่างๆ พร้อมทั้งเงินค่าสมัครสอบภายในวันที่ ๑ –๓๑มีนาคม๒๕๕๙ณราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ชั้น ๗อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปีเลขที่ ๒ซอยศูนย์วิจัยถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวางกรุงเทพฯ ๑๐๓๒๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๗๑๖ ๖๗๔๔
๓.เอกสารที่ใช้ในการสมัครสอบ
๓.๑.กรอกใบคำขอสมัครสอบฯ ด้วยตนเองในwebsite: http://www.tmc.or.th/tcgme/ได้ตั้งแต่ ๑–๓๑มีนาคม๒๕๕๙แล้วพิมพ์ลงกระดาษ (hard copy) ส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ พร้อมหลักฐานต่างๆ และจ่ายเงินค่าสมัครสอบ ที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ชั้น ๗อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปีเลขที่ ๒ซอยศูนย์วิจัยถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวางกรุงเทพฯ ๑๐๓๒๐
๓.๒.สำเนาปริญญาบัตรแพทยศาสตรบัณฑิตและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม อย่างละ๑ฉบับ
๓.๓.รูปถ่ายขนาด ๒นิ้ว จำนวน ๒รูป (ถ่ายไม่เกิน ๖เดือน)
๓.๔.คาธรรมเนียมในการสมัครสอบเพื่อหนังสืออนุมัติ/วุฒิบัตรฯ และค่าใบสมัคร ตามประกาศของแพทยสภาและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
๓.๕.กรณีเฉพาะต่างๆ ดังต่อไปนี้
๓.๕.๑.กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ ๑.๒.๒และ ๑.๔.๑ต้องมีสำเนาวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาหรืออนุสาขานั้น จำนวน ๑ ฉบับ
๓.๕.๒.กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ ๑.๓ต้องมีสำเนาหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินหรือเทียบเท่า จากสถาบันต่างประเทศที่แพทยสภารับรองจำนวน ๑ ฉบับ
๓.๕.๓.กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ๑.๒ต้องมีหลักฐานแสดงว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อนั้นๆ (เช่น หนังสือรับรองว่าได้ทำงานในสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินมาแล้วตามเงื่อนไขที่กำหนด, ผลงานวิชาการด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่ได้ตีพิมพ์ในตำราหรือวารสารหรือสื่ออื่นใดที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งระบุปีผลิตได้ชัดเจน) มาแสดงด้วย
๓.๕.๔.กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ ๑.๔ต้องมีหลักฐานแสดงว่าได้ทำงานเกี่ยวกับเวชศาสตร์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องกันมาตลอดจนถึงวันที่ยื่นคำขอสอบไม่น้อยกว่า ๑๐ ปีรวมทั้งหลักฐานแสดงคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อ ๑.๔.๑และข้อ๑.๔.๒มาแสดงด้วย
๔.กำหนดการสอบและวิธีการสอบ: ประกอบด้วยการสอบภาคทฤษฎี การสอบภาคปฏิบัติ และการสอบสัมภาษณ์ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้๔.๑.กรณีผู้มีคุณสมบัติตามข้อ ๑.๑ซึ่งสอบผ่านภาคทฤษฎีมาแล้วไม่เกิน ๓ ปี ให้ได้รับการยกเว้นการสอบภาคทฤษฎี๔.๒.อาศัยอำนาจตามข้อ ๑๘ (๓) แห่งข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมพ.ศ. ๒๕๕๒คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ได้พิจารณาให้ยกเว้นการสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายแก่ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ ๑.๓หรือ๑.๔.จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

คู่มือแนะนำการสอบภาคปฏิบัติ สำหรับผู้เข้าสอบเพื่อวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ปีการสอบ ๒๕๕๙

ประกาศคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ